09
มีนาคม
2023
|
10:02
Europe/Amsterdam

โคเวสโตรลงทุนขยายกำลังการผลิตฟิล์มโพลีคาร์บอเนตในประเทศไทย

พิธีวางศิลาฤกษ์สำหรับสายการผลิตใหม่ที่มาบตาพุด

สรุป
  • การลงทุนมูลค่ากว่าหลายสิบล้านยูโร
  • การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568
  • สำหรับการใช้งานทางด้านบัตรประจำตัว อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  • เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ฟิล์มที่มีความยั่งยืน

โคเวสโตร เริ่มแผนการขยายการผลิตฟิล์มโพลีคาร์บอเนตชนิดพิเศษ (PC film) ทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งได้มีการวางศิลาฤกษ์ในการเริ่มก่อสร้างสายการผลิตการอัดขึ้นรูปแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดในประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 โดยผลิตภัณฑ์ฟิล์มชนิดนี้เป็นส่วน ประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภทเอกสารประจำตัวเฉพาะ บุคคล จอแสดงผลในรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการลงทุนใน ครั้งนี้มีมูลค่าหลายสิบล้านยูโร โดยการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2568 และจะมีการ จ้างงานกว่า 50 ตำแหน่ง

คุณ สุเชตา โกวิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ โคเวสโตร กล่าวว่า “การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถเสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันและกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อช่วยขยายขีดจำกัดในธุรกิจให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกัน การลงทุนครั้งนี้ยังช่วยให้เราสามารถตอบรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และสามารถรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย”

ดร.แคโรไลน์ วูล์ฟ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ฟิล์มชนิดพิเศษ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ว่า "เนื่องด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่องเราจึงได้มีการลงทุนขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศไทย จีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา โดยเราต้องการ ผลักดัน การเติบโตในธุรกิจฟิล์มโพลีคาร์บอเนต ที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า และ นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่ง โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างการรีไซเคิลหรือการใช้วัตถุดิบชีวมวลบางส่วน ถือเป็นส่วนสำคัญ” 

เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ฟิล์มที่ผลิตจากวัตถุดิบทางเลือก

โคเวสโตรนำเสนอผลิตภัณฑ์ฟิล์ม PC ที่หลากหลายและยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สมดุล- มวลสาร ที่ได้ รับการรับรองมาตรฐาน ISCC PLUS โดยวัตถุดิบของฟิล์มดังกล่าวนั้น ผลิตจากขยะชีวภาพและวัสดุตกค้าง ซึ่งเรานำมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งห่วงโซ่คุณค่าการผลิต และผลิตภัณฑ์ 
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ศูนย์การผลิตมาบตาพุดได้รับการรับรองจาก ISCC PLUS ทำให้โรงงาน แห่งนี้สามารถผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์สมดุลมวลสาร โดยลูกค้าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ ของ โคเวสโตรในกระบวนการผลิตเพื่อบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน นอกเหนือจากนี้ โคเวสโตรยัง ได้นำเสนอ ผลิตภัณฑ์ฟิล์มหลายชนิดที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบจากพืชหรือพลาสติกรีไซเคิล อีกด้วย

ดร.ทีโม สลาวินสกี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด และ ผู้จัดการศูนย์ การผลิต โคเวสโตร มาบตาพุด กล่าวว่า "โรงงานแห่งใหม่มีความพร้อมแล้ว และจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ ใน ไตรมาสที่ 2 ตามแผนที่วางไว้ โดยโรงงานมาบตาพุดมี คุณสมบัติด้านคุณภาพและ มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง สอดคล้องกับกลยุทธ์โดย รวมของโคเวสโตร ศูนย์การผลิตในประเทศไทยของเราถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกในการร่วมมือ กับลูกค้าและซัพพลายเออร์เพื่อผลิตวัสดุที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น”

ข้อความแม่แบบ

เกี่ยวกับโคเวสโตร

โคเวสโตรเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์และส่วนประกอบทางโพลิเมอร์คุณภาพสูงชั้นนำของโลก ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการ บริษัทช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและ คุณภาพชีวิต ในหลายแง่มุม โคเวสโตร ให้บริการลูกค้าทั่วโลกในอุตสาหกรรมหลัก เช่น การเดินทางและการขนส่ง อาคารและที่อยู่อาศัย ตลอดจนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ โพลีเมอร์จากโคเวสโตร ยังใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กีฬาและสันทนาการ เครื่องสำอางและสุขภาพ ตลอดจน ในอุตสาหกรรมเ คมีด้วย บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการเป็นบริษัทหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ และมุ่งบรรลุความเป็นกลางทาง สภาพภูมิอากาศภายในปี พ.ศ. 2578 (ในขอบเขต 1 และ 2) โคเวสโตร สร้างยอดขายได้ 18 พันล้านยูโรในปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 บริษัทมีโรงงานผลิต 50 แห่งทั่วโลกและมีพนักงานประมาณ 18,000 คน (คำนวณจากจำนวนพนักงานประจำ) ณ สิ้นปี พ.ศ. 2565 

ข่าวประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้อาจมีข้อความที่บ่งชี้ถึงอนาคต โดยใช้ข้อสันนิษฐานและการคาดการณ์ของ 
โคเวสโตร เอจี เป็นพื้นฐาน ปัจจัยด้านความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และที่คาดการณ์ไม่ได้ ความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่นๆ อาจส่งผลต่อข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งด้านผลประกอบการจริง สถานการณ์ทางการเงิน ผลการดำเนินงานและการพัฒนาของบริษัทในอนาคต โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ หมายรวมถึงปัจจัยที่อยู่ในรายงานสาธารณะของโคเวสโตร ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์โคเวสโตร www.covestro.com ทั้งนี้ โคเวสโตรจะไม่ขอรับผิดชอบในการอัพเดทข้อความบ่งชี้ถึงอนาคตต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตรงตามสถานการณ์หรือการพัฒนาในอนาคต