Submit
โคเวสโตร, Covestro, นวัตกรรม, ความยั่งยืน, รีไซเคิล, PET, rPET, งานพิมพ์ 3มิติ, DSM, 3D Printing

โคเวสโตร เปิดตัววัสดุสำหรับงานพิมพ์ 3 มิติ ที่ผลิตจาก PET รีไซเคิล

Copied to clipboard
  • รีไซเคิล PET จากขยะพลาสติกที่หมดอายุการใช้งานแล้ว
  • พัฒนาโดย DSM Resins & Functional Materials
  • ทางเลือกแทนวัตถุดิบบริสุทธิ์สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
  • วัสดุที่เสริมด้วยใยแก้ว เหมาะสำหรับงานโครงสร้างและต้องการประสิทธิภาพสูง สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบใช้เม็ดพลาสติก หรือใช้งานเทคโนโลยี Fused Granulate Fabrication (FGF) 

20210505_Recycled-PET-for-3D-Printing-Pic

โคเวสโตร บริษัทผู้ผลิตวัสดุชั้นนำระดับโลก แนะนำวัสดุชิ้นแรกที่ถูกพัฒนาโดยธุรกิจการผลิตแบบเพิ่มเนื้อหรือการพิมพ์ 3D จาก DSM ที่เพิ่งถูกซื้อธุรกิจมา นั่นคือ “โพลีเอทิลีนเทเรพทาเลตชนิดรีไซเคิล (rPET)” ที่เติมใยแก้วเพื่อการพิมพ์ชิ้นส่วน 3 มิติ ซึ่งผลิตจากรีไซเคิล PET ที่มาจากขยะพลาสติกที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ภายใต้เครื่องหมายการค้า Arnite® AM2001 GF (G) rPET ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ โคเวสโตร ต่อแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้อย่างลงตัว อีกทั้งแสดงให้เห็นว่าทั้งสององค์กรมีแนวทางการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์ 3D และการผลิตในระดับอุตสาหกรรมโดยรวมอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร

นวัตกรรมเม็ดพลาสติกเสริมใยแก้วช่วยเสริมประสิทธิภาพเชิงโครงสร้าง ช่วยใช้ชิ้นส่วนมีการปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าวัสดุบริสุทธิ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบแบบปกติ (virgin material) อย่างมาก ซึ่งผู้ผลิตสามารช่วยให้ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของตนมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณภาพในการใช้งาน

เพิ่มความยั่งยืน ลดต้นทุน

rPET ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบใช้เม็ดพลาสติก เทคโนโลยีนี้เรียกอีกอย่างว่า Fused Granulate Fabrication (FGF) ซึ่งจะช่วยให้สามารถผลิตชิ้นส่วนขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โดยใช้การพิมพ์แบบนี้โดยตรงจะช่วยลดต้นทุน เพราะช่วยลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการพิมพ์ 3 มิตินี้ ทำให้การออกแบบมีความยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนวัสดุได้ การพิมพ์ 3 มิติ จึงเป็นวิธีการผลิตที่สร้างความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากใช้ปริมาณวัสดุเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และด้วยการทำให้วัสดุมีความยั่งยืนมากขึ้นนี้ โคเวสโตร สามารถช่วยให้ผู้ผลิตก้าวสู่หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนได้

คุณสมบัติเชิงกลของ
Arnite® AM2001 (G) rPET และการทำงานร่วมกับระบบการประมวลผล ทำให้เหมาะสำหรับการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ประเภทโครงสร้างในอุตสาหกรรมที่หลากหลายเป็นอย่างยิ่ง เช่น สะพานให้คนเดินข้าม บังโคลนจักรยาน หรืออุโมงค์ทางเท้า กระทั่งการใช้งานด้านสถาปัตยกรรม เช่น แผ่นหุ้มอาคาร ผนังกั้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ภายในและภายนอก หรือแม้แต่เรือลำเล็กๆ ไปจนถึงลังบรรจุภัณฑ์หรือเครื่องมือ

Hugo Da Silva หัวหน้าสายงานธุรกิจการผลิตแบบ Additive หรืองานพิมพ์ 3D เมื่อครั้งอยู่ที่ DSM ได้แสดงความคิดเห็นว่า “การนำเสนอวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการพิมพ์ 3 มิติแบบใช้เม็ดพลาสติก เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนแก่ห่วงโซ่อุปทาน เนื่องด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำจาก PET นั้น กลายเป็นขยะพลาสติกซึ่งคิดเป็นสัดส่วนปริมาณมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมด การยืดอายุการใช้งานด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เป็นวัตถุดิบทางเลือกถือเป็นการนำเสนอทางเลือกที่น่าสนใจแทนการใช้วัตถุดิบบริสุทธิ์ที่ผลิตแบบปกติ โดยไม่จำเป็นต้องประนีประนอมในประสิทธิภาพหรือต้นทุนโดยรวมของผู้ผลิต

Patrick Rosso หัวหน้าสายงานธุรกิจการผลิตแบบ Additive หรืองานพิมพ์ 3D โคเวสโตร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นกับการแนะนำวัสดุที่ยั่งยืนนี้ซึ่งถูกออกแบบโดย DSM เพื่อนร่วมงานใหม่ของเรา มันสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ โคเวสโตร เกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นอย่างยิ่ง วัสดุ rPET นี้ เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุดที่เราต้องการสนับสนุน ถึงเป้าหมายร่วมกันของพันธมิตรทั้งสองทีม ในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมวัสดุที่ดีกว่าในท้องตลาด ซึ่งสามารถช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจการผลิตด้วยการพิมพ์ 3D ได้”

- ของเสียจากการผลิตกลายเป็นวัตถุดิบที่มีค่า

- สามารถแปรรูปซ้ำในระดับอุตสาหกรรมได้

- มีส่วนร่วมในความยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้น

แบรนด์ Maezio® ซึ่งเป็นคอมโพสิตโพลีคาร์บอเนตเสริมแรงด้วยเส้นใยแบบต่อเนื่อง (CFRTPs) ที่พัฒนาโดย โคเวสโตร (Covestro) มีความโดดเด่นด้วยน้ำหนักที่เบามาก อีกทั้งความแข็งแรงสูงและมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ ซึ่งหมายความว่า ของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตคอมโพสิตจะกลายเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ประกอบด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างง่ายดาย การรีไซเคิลวัสดุผสมจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ซึ่ง โคเวสโตร กำลังร่วมมือกับ carboNXT® ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยได้พัฒนากระบวนการที่ทำให้ของเสียถูกแปรรูปได้ในระดับอุตสาหกรรม

 

“เรารู้สึกตื่นเต้นมากเกี่ยวกับการแก้ปัญหาร่วมกันนี้ เนื่องจากเราไม่สามารถดำเนินการกับวัสดุเองได้ด้วยเหตุผลทางเทคนิคบางประการ” Lisa Ketelsen หัวหน้าฝ่ายเทอร์โมพลาสติกคอมโพสิต จาก โคเวสโตร อธิบาย “โดยการรีไซเคิลตามประเภทที่โรงงานของพันธมิตรเรา วัตถุดิบสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและมีคุณสมบัติที่ดีพอ ๆ กับวัสดุบริสุทธิ์ ทำให้การรีไซเคิลวัสดุสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ ด้วยวิธีนี้ ได้ทำให้เราประหยัดทรัพยากรและสนับสนุนการมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)”

“บริษัทของเรามีประสบการณ์หลายปี ในการรีไซเคิลเทอร์โมพลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์ และมีเทคโนโลยีโรงงานที่จำเป็นในการแปรรูปของเสียดังกล่าว เราจึงเป็นตัวเลือกสำหรับงานนี้” Tim Rademacker ผู้จัดการทั่วไปของ Mitsubishi Chemical Advanced Materials และผู้รับผิดชอบธุรกิจรีไซเคิลคาร์บอนไฟเบอร์ กล่าว “จากของเสียที่ผ่านการแปรรูป เราผลิตสารประกอบใหม่คุณภาพสูงของโพลีคาร์บอเนตเสริมคาร์บอนไฟเบอร์สำหรับ โคเวสโตร (Covestro) ที่ CarboNXT®”

 

ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลดังกล่าวมีความต้องการสูง เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีค่า แต่เนื่องจากลูกค้าภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภคกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะนี้ โครงการจะได้รับการพัฒนาต่อไปเพื่อให้ตอบสนองตลาด โดย โคเวสโตร, Mitsubishi Chemical Advanced Materials และอาจรวมถึงพันธมิตรรายอื่น ๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระดับโลก ซึ่ง โคเวสโตร มุ่งเน้นด้านพลังงานทั้งหมดบนหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

 

เกี่ยวกับโคเวสโตร

โคเวสโตรเป็นผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์ชั้นนำระดับโลก มียอดขายในปี 2563 ถึง 10.7 พันล้านยูโร ธุรกิจของโคเวสโตรให้ความสำคัญกับการผลิตวัสดุโพลิเมอร์ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงและการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว โคเวสโตรมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน อุตสาหกรรมหลักที่ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของโคเวสโตรคืออุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมด้านกีฬาและสันทนาการ  เครื่องสำอาง สุขภาพ รวมถึงอุตสาหกรรมเคมีด้วยเช่นกัน โดยโคเวสโตรมีศูนย์การผลิตอยู่ 33 แห่งทั่วโลก และมีพนักงานประจำและเทียบเท่า ประมาณ 16,500 คน (ข้อมูล ณ ปลายปี 2563)

Notes:
สำหรับข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับโคเวสโตร กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์ www.covestro.com
กดติดตามเราได้ที่ Facebook: Covestro Thailand

ข้อความที่บ่งชี้ถึงอนาคต
ข่าวประชาสัมพันธ์ชิ้นนี้อาจมีข้อความที่บ่งชี้ถึงอนาคต โดยใช้ข้อสันนิษฐานและการคาดการณ์ของโคเวสโตร เอจี เป็นพื้นฐาน ปัจจัยด้านความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และที่คาดการณ์ไม่ได้ ความไม่แน่นอน และปัจจัยอื่นๆ อาจส่งผลต่อข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งด้านผลประกอบการจริง สถานการณ์ทางการเงิน ผลการดำเนินงานและการพัฒนาของบริษัทในอนาคต โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ หมายรวมถึงปัจจัยที่อยู่ในรายงานสาธารณะของโคเวสโตร ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์โคเวสโตร www.covestro.com ทั้งนี้ โคเวสโตรจะไม่ขอรับผิดชอบในการอัพเดทข้อความบ่งชี้ถึงอนาคตต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตรงตามสถานการณ์หรือการพัฒนาในอนาคต

Compare