Submit

ธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียน

โซลูชั่นนวัตกรรมและความยั่งยืนทางธุรกิจเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสังคมพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการที่บริษัทระดับโลกหาทางเข้าถึงและสร้างประโยชน์ให้แก่ลูกค้าที่มีรายได้น้อยในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียนเป็นวิธีการสำคัญตามกลยุทธ์การสร้างความยั่งยืนของโคเวสโตรในระดับโลก

โดยมีแนวคิดหลักคือ การสร้างต้นแบบธุรกิจที่ยั่งยืนที่รวมประชากรส่วนที่มีรายได้น้อยด้วย ในฐานะผู้นำการจำหน่ายโพลีเมอร์ระดับโลก วัสดุที่มีคุณค่าสูงของโคเวสโตรได้ถูกนำไปใช้กับสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น รถยนต์ งานก่อสร้าง อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเราเชื่อในความสมดุลระหว่างคน โลก และกำไร เราจึงลงทุนในทรัพยากรอย่างครอบคลุมเพื่อหาทางนำวัสดุคุณภาพสูงของเราไปสู่ชุมชนตามพันธะสัญญาต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติที่ว่า "ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง" ธุรกิจเกื้อกูลสังคมจึงเป็นคำตอบของศรัทธาและความเชื่อมั่นของเรา

โครเวสโตรตั้งเป้าที่จะเข้าถึงและทำประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่ 10,000,000 คนในตลาดเกิดใหม่ภายในปี 2025 เพราะเราเชื่อใน #การก้าวข้ามขีดจำกัด เช่น การพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสร้างโซลูชั่นที่มีความหมายและยั่งยืนในด้านความมั่นคงทางอาหาร บ้านราคาไม่แพง น้ำ สุขาภิบาล และอื่นๆ

ธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียนทำงานร่วมกับลูกค้าและหุ้นส่วนที่มีความคิดเหมือนกันในการหาการประยุกต์ใช้วัสดุของเราอย่างสร้างสรรค์ในแบบที่ได้รับการพัฒนาและทดสอบมาอย่างเต็มที่แล้ว ที่สามารถดัดแปลงมาใช้กับต้นแบบธุรกิจของธุรกิจเกื้อกูลสังคม และทำงานเพื่อมุ่งสู่การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลท้องถิ่น ภาคประชาสังคม สถาบันการเงิน และนักลงทุน เพื่อนำการประยุกต์ใช้ต่างๆ เหล่านี้ไปสู่ลูกค้า

โซลูชันเด่นๆ ของเราในปัจจุบัน

เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะมีกำลังการผลิตอาหารสูงก็ตาม แต่ร้อยละ 51 ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ยังคงใกล้ประสบกับความไม่มั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมหลังการเก็บเกี่ยวทำให้เกิดการสูญเสียร้อยละ 20-50 ตามห่วงโซ่คุณค่าหลังการเก็บเกี่ยวในอาเซียน ซึ่งเทียบเท่ากับการสูญเสียการผลิตอาหารกว่า 100 ล้านตัน หรือมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ในปัจจุบัน การลดลงของการสูญหายและเสียหายของอาหารเป็นหนึ่งในวาระปี ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 12) ของสหประชาชาติ ซึ่งพยายามให้เกิด “การบริโภคและรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน” โดยเป้าหมายข้อ 12.3 ภายใต้เป้าหมายนี้ คือ “เพื่อลดการเสียหายของอาหารโลกในระดับค้าปลีกและผู้บริโภคลงครึ่งหนึ่ง และลดการสูญเสียอาหารตามห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2030

การพัฒนาผลิตผลแปรรูปด้วยการอบแห้งในรูปแบบต่างๆ อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถเก็บรักษาผลิตผลได้เป็นเวลานานขึ้น และทำได้ในหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ทำได้มากกว่านั้น

*ภาพรวมความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ปี 2017, หน้า 1

บ้านราคาไม่แพง

เมื่อโลกกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าสู่ขั้นที่เราคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรม บ้านก็ไม่มีข้อยกเว้น มีแนวคิดใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น เช่น การลดการใช้พลังงานด้วยการออกแบบบ้านที่ประหยัดพลังงาน โดยยังคงราคาไม่ให้สูงเกินไป ซึ่งฟังดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าการพิจารณาใช้วัสดุแนวนวัตกรรมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้นแบบบ้าน

ราคาไม่แพงนี้ใช้วัสดุแนวนวัตกรรมอย่าง PIR (พอลิไอโซไซยานูเรต) ซึ่งอยู่ในกลุ่มวัสดุที่โคเวสโตรภูมิใจใช้ แผ่นโฟม PIR ใช้กันทั่วไปในห้องเย็นหรือการทำความเย็นในอุตสาหกรรม เพราะมีคุณสมบัติกันความร้อนดีเลิศและกันความชื้นได้ บ้านที่สร้างโดยใช้แผ่นฉนวน PIR จึงกันความร้อนและลดการใช้เครื่องปรับอากาศและไม่ขึ้นรา แผ่นฉนวน PIR สำเร็จรูปมีน้ำหนักเบาจึงลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และใช้แรงงานน้อย ส่งผลให้ราคาบ้านถูกกว่าบ้านทั่วไปราว 35-40% ข้อดีของแผ่นฉนวน PIR คือ ก่อสร้างง่ายและรวดเร็ว, ประหยัดพลังงาน (กันความร้อน), ประกอบสำเร็จรูปตามขนาด, มีความยืดหยุ่นในการออกแบบสูง, ผิวเรียบ, ลดการสูญเสียในการก่อสร้าง, ลดการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในสถานที่ก่อสร้าง, คุณภาพสูง

ฟิล์ม Carocell สำหรับเครื่องกลั่นน้ำสะอาดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

น้ำที่ปนเปื้อนและปราศจากสุขอนามัยนั้น เป็นแหล่งการแพร่กระจายของโรค เช่น อหิวาตกโรค โรคท้องร่วง โรคบิด โรคตับอักเสบเอ ไทฟอยด์ และโปลิโอ และเสี่ยงกับการเกิดปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลหรือสถานพักฟื้นที่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคมากกว่าปกติ โดยผู้ป่วยทั่วโลก กว่า 15% ติดเชื้อระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ

ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตราว 829,000 คนจากอาการท้องร่วง ซึ่งเกิดจากดื่มน้ำปนเปื้อน รวมทั้งการสัมผัสด้วยมือที่มีเชื้อโรค ซึ่งจริงๆ แล้วโรคท้องร่วงนั้นสามารถป้องกันได้ ถ้าดูแลสุขอนามัยให้เพียงพอ ซึ่งจะสามารถลดจำนวนการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ได้ถึง 297,000 คนต่อปี .

ในปี 2560 มีคนกว่า 220 ล้านคนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการป้องกันและรักษา โดยโรคนี้ที่เกิดจากอุปโภคบริโภคน้ำที่มีพยาธิปนเปื้อน . [1]

ความจำเป็นในการได้รับน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals หรือ MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญอย่างมากในการบรรลุ MDGs เพื่อการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและมีความสำคัญต่อสุขภาพสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งมีการคิดค้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายข้อที่ 6 ของ SDGs

เราได้คิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย และเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับชุมชนที่มีรายได้น้อย โดยทีมงาน IB ASEAN ได้จับมือกับ F Cubed ลูกค้าของเรา ในเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในการผลิตเครื่องกลั่นน้ำสะอาดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar water purification system) โดยใช้คุณสมบัติพิเศษของฟิล์มจากโคเวสโตร ที่เรียกว่า CarocellTM ซึ่งมีความทนทานสูงในการใช้งานในระยะยาว และมีความโปร่งใสสูง .

เทคโนโลยีของ F Cubed นั้นใช้กระบวนการตามธรรมชาติในการกลั่นน้ำสะอาดให้ปราศจากสารปนเปื้อนต่างๆ ด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ น้ำที่ไหลผ่านแผงพลาสติกที่ด้านหน้าของแผง CarocellTM จะเกิดการระเหย ควบแน่น และกลั่นตัวเป็นน้ำสะอาด ซึ่งน้ำสะอาดนี้จะถูกส่งไปยังช่องจ่ายน้ำที่ปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และพร้อมสำหรับดื่มทันที นอกจากนี้ แผง CarocellTM ยังสามารถเก็บกักน้ำฝน สำหรับใช้เป็นแหล่งน้ำได้อีกด้วย CarocellTM เป็นโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ทุกที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลชุมชน


[1] https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/drinking-water

เรื่องราวที่น่าใจมีสีสันและแสดงถึงความกล้าของธุรกิจธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียน

ต้นแบบของธุรกิจเกื้อกูลสังคมสร้างบนพื้นฐานของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในตลาดเมียนมาร์

ทั้งหมดเริ่มต้นจากโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในกิจการของรัฐด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจจากความมั่นคงทางอาหาร หรือ WeCare โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก DEG KfW และโคเวสโตร และดำเนินการใน 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และเมียนมา เป็นการนำต้นแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ในชุมชนผู้มีรายได้น้อย 12 แห่งในพื้นที่ชนบทของประเทศที่กล่าวมาข้างต้น


ในประเทศเมียนมา 2 ใน 3 ชุมชนที่ได้รับเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (SDD) ปลูกและอบแห้งพริกไว้กินเองและขาย ในช่วง 1 ปีของการอบแห้ง ได้รับผลตอบรับที่ดีจากชุมชนเสมอ

  • พริกที่อบแห้งในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีสีสันสดใสกว่าที่อบแห้งด้วยวิธีการทั่วไป
  • ระยะเวลาการอบแห้งลดลงร้อยละ 50
  • การเน่าเสีย/สูญเสียลดลงมาก จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 10 ของผลิตผลอบแห้งรวมในขั้นสุดท้าย

 


การอบแห้งปกติ เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์
มูลค่าผลิตผล 1920 จ๊าด (ประมาณ 1.6 เหรียญสหรัฐ) / กก. 3000 จ๊าด (ประมาณ 2.5 เหรียญสหรัฐ) / กก.
ปริมาณของเสียลดลง พริกแห้ง 7 ตะกร้า จากพริกสด 10 ตะกร้า (2.5 – 3.5 กก. / ตะกร้า) พริกแห้ง 8.5 - 9 ตะกร้า จากพริกสด 10 ตะกร้า (2.5 – 3.5 กก. / ตะกร้า)
เวลาที่ใช้ 3 วัน 1.5 วัน

 

ข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม 2016 ถึง พฤษภาคม 2017

หลังจากติดตั้งเครื่องอบแห้งแล้ว ความท้าทายในการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับตลาดยังมีอยู่ แม้ว่าโคเวสโตรจะรับหน้าที่ในการยกระดับโซลูชั่นนี้แล้วหลังจากโครงการปิดในเดือนมิถุนายน 2017 อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นปี 2017 หน่วยงานที่ดูแลอาหารสดตามฟาร์มธรรมชาติเมียนมา (NFFM) ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคมที่ตั้งขึ้นใหม่ในกรุงย่างกุ้งโดยผู้ประกอบการชาวเมียนมาที่หลงใหลและมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตร ของประเทศ ได้ติดต่อขอเริ่มความเป็นหุ้นส่วนกับ โคเวสโตร หลังจากที่ได้สังเกตการทำงานของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ หลังจากผ่านไปกว่าครึ่งปีในการหารือและร่างบันทึกข้อตกลง ทั้งสองฝ่ายก็ได้สร้างความเป็นหุ้นส่วนในการยกระดับต้นแบบของเครื่องอบแห้งพลังงานแสง อาทิตย์ในประเทศเมียนมา

เพียงไม่กี่เดือนหลังจากพิธีลงนามความเป็นหุ้นส่วนระหว่างหน่วยงานที่ดูแลอาหารสดตามฟาร์มธรรมชาติเมียนมา (NFFM) กับโคเวสโตร ได้มีการติดตั้งและใช้งานเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกลาง (8 ม. X 12 ม.) จำนวน 4 หลัง โดยที่จะมีเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อีก 5 หลังที่จะติดตั้งเพิ่มเติมในเดือนมกราคม 2018 ซึ่งเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนสองหลังมาจากเจ้าของกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางที่ใช้เพื่ออบแห้งขิงและ พืชผักในกรุงย่างกุ้งและเททโคน ส่วนที่เหลืออีกสามหลังนั้นจะมาจากเงินช่วยเหลือของกองทุนธุรกิจที่รับผิดชอบ (RBF) จากรัฐบาลประเทศเดนมาร์กที่ให้ไว้กับหน่วยงานที่ดูแลอาหารสดตามฟาร์มธรรมชาติเมียนมา (NFFM) เพื่อให้สามารถแปรรูปพริกในส่วนกลางของประเทศเมียนมาได้อย่างปลอดภัย สะอาดและมีสุขอนามัย

ในเดือนพฤศจิกายน 2017 NFFM เสนอชื่อสหกรณ์การเกษตร 4 แห่งให้ได้รับเงินช่วยเหลือจาก RBF ซึ่งถ้าได้รับเงินช่วยเหลือในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 พร้อมกับการติดตั้งเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สหกรณ์ดังกล่าวก็จะทำการอบแห้งชา กาแฟ ขิง และสมุนไพรต่างๆ นอกจากนี้ NFFM ยังน่าจะได้รับการมอบหมายเป็นผู้ให้บริการและผู้จัดหาอุปกรณ์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเมียนมาด้วย

“เราได้นำเสนอเครื่องอบแห้งพลังงานแสงทิตย์ในโบรชัวร์ งานสัมมนา และขอให้ส่งสินค้าทดลองใช้ไปที่เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ของ NFFM ในนครมยิต้า เพื่อสังเกตผลลัพธ์ร่วมกันและเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อหาทางปรับปรุงสินค้าในขั้นสุดท้าย การแสดงเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ 4 เครื่องของ NFFM ของนครมยิต้ามีบทบาทสำคัญในการทำให้เกษตรกรไว้วางใจ เพราะการที่ได้เห็นเองทำให้เกิดความเชื่อมั่น และ NFFM แนะนำเกษตรกรไปยัง RBF และช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดทำเอกสารข้อเสนอความต้องการเกี่ยวกับปัญหาการอบแห้ง” นาย เนย์ โออ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง NFFM เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการที่กิจการสังคมดึงเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิต

NFFM ยังได้ทำสัญญาทางวาจากับธนาคารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรลุ่มอิรวดี เพื่อให้เกษตรกรสามารถเช่าซื้อเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นเวลา 3 ปี และได้สร้างการเชื่อมโยงในหมู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และบางบริษัท เพื่อทำตลาดสินค้าของเกษตรกรต่อไป

ในความพยายามที่จะเปิดเส้นทางแก่สินค้าส่งออกของประเทศเมียนมา NFFM ได้มีโอกาสรับแขกจาก JGC Corporation (ญี่ปุ่น) Daesang (เกาหลีใต้) และ Metro (เยอรมัน) ที่มาเยี่ยมชมเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และสินค้าพริกแห้งของเกษตรกร

นาย เนย์ โออ ยังกล่าวอีกด้วยว่า “สิ่งที่ท้าทายที่สุดของเราคือ การรับมือกับอัตราการเติบโตของธุรกิจในด้านคน วัสดุ และเงิน”

NFFM เชื่อว่า เทคโนโลยีเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนด้วยหลายเหตุผลต่อไปนี้

  1. ในปัจจุบัน ความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยเป็นหัวข่าวบนหนังสือพิมพ์รายวันในประเทศเมียนมา เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จะมีส่วนช่วยให้มีอาหารที่สะอาดและถูกสุขอนามัย
  2. สินค้าคุณภาพสูงที่ผลิตในท้องถิ่นโดย NFFM สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และยังช่วยรักษารายได้จากต่างประเทศที่มีไม่มากของเรา ซึ่งในระยะยาว เราก็สามารถส่งออกกลับไปยังต่างประเทศด้วยอาหารที่ดีและคุณภาพ
  3. สินค้าที่มีการเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพการอบแห้งที่ดีขึ้นจะทำให้เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
  4. การใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ในกระบวนหลังการเก็บเกี่ยวพริก จะช่วยสร้างงานในบางพื้นที่ และทำให้ประชาชนได้รับการฝึกอบรมความรู้ที่ดีขึ้นในการใช้อุปกรณ์และวิธีการแปรรูปแบบใหม่ๆ

การสูญเสียหลังการผลิตลดลง

ทุกฤดูร้อนในประเทศเวียดนาม จะมีข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ มากมายเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลที่ต้องโอบอุ้มเกษตรกรเนื่องจากมีผลผลิตส่วนเกิน เช่น สัปปะรด หัวผักกาด หอมแดง กล้วย เป็นต้น ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่เข้าแทรกแซง ผลผลิตที่เน่าเสียง่ายส่วนใหญ่ก็จะเสียหาย และเกษตรกรที่ไม่สามารถขายให้ได้ทุนคืนก็จะล้มละลาย ปัญหาลักษณะนี้มีมานานหลายปีแม้ว่ารัฐบาลจะได้พยายามเตือนเกษตรกรไม่ให้ผลิตพืชผลบางอย่างเกินความต้องการของตลาดมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม

มูลเหตุของเรื่อง

จากการสำรวจความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวในประเทศเวียดนามโดย CEL Consulting ในปี 2018 พบว่าหมวดผลไม้และผักทำให้เกิดการสูญเสียอาหารมากที่สุด คือ ร้อยละ 32 ของการผลิต คิดเป็นการสูญเสียผักผลไม้ราว 7.3 ล้านตันต่อปี ส่วนในหมวดปลาและอาหารทะเล การสูญเสียคิดเป็นร้อยละ 12 ของการผลิต (ราว 804 พันตันต่อปี)


การสำรวจของ CEL Consulting ยังเผยให้เห็นว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อนำไปลงทุนปรับปรุงการผลิตที่ไม่ดีในปัจจุบันและเงื่อนไขการเก็บเกี่ยวได้ (เช่น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นที่ลดความเสียหายของอาหารในระหว่างการเก็บเกี่ยว สถานที่เก็บที่เหมาะสม) ซึ่งเป็นข้อสรุปเดียวกันจากภาพรวมความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ปี 2017 จากการมองประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค

สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ เวียดนามไม่ใช่ประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียอาหารนี้ แต่เป็นปัญหาร่วมของภูมิภาคเช่นกัน การสูญเสียอาหารในเอเชียคิดเป็นร้อยละ 28.7 ในจำนวนนี้ ร้อยละ 31 ของการสูญเสียอาหารถูกพบในช่วงการเก็บเกี่ยว และร้อยละ 34 ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ในขณะที่ร้อยละ 35 ถูกพบในช่วงการแปรรูป บรรจุ กระจายส่ง และบริโภค.

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะมีกำลังการผลิตอาหารสูงก็ตาม แต่ร้อยละ 51 ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ยังคงใกล้จะประสบกับความไม่มั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมหลังการเก็บเกี่ยวทำให้เกิดการสูญเสียร้อยละ 20-50

ตามห่วงโซ่คุณค่าหลังการเก็บเกี่ยวในอาเซียน ซึ่งเทียบเท่ากับการสูญเสียการผลิตอาหารกว่า 100 ล้านตัน หรือมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ สาเหตุของการสูญเสียและเสียหายของอาหารมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น “การเก็บเกี่ยวผิดช่วงการเจริญเติบโตของพืชผล การถูกฝนมากเกินไป ความแห้งแล้ง หรืออุณหภูมิที่สูงจัด การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ และความเสียหายทางกายภาพที่ลดมูลค่าของผลผลิตลง”

ในปัจจุบัน การลดลงของการสูญหายและเสียหายของอาหารเป็นหนึ่งในวาระปี 2030 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 12) ของสหประชาชาติ ซึ่งพยายามให้เกิด “การบริโภคและรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน” โดยเป้าหมายข้อ 12.3 ภายใต้เป้าหมายนี้ คือ “เพื่อลดการเสียหายของอาหารโลกในระดับค้าปลีกและผู้บริโภคลงครึ่งหนึ่ง และลดการสูญเสียอาหารตามห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2030” เป้าหมายการลดความเสียหายของอาหารยังถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งใน 5 เป้าหมายของโครงการขจัดความหิวโหย (Zero Hunger Challenge) ที่เริ่มโดยสหประชาชาติในการประชุม Rio+20 ในปี 2012

อะไรที่ทำได้บ้าง?

นาย Nguyen Xuan Cuong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของประเทศเวียดนาม ประกาศในเดือนมกราคม 2018 ว่า แม้ว่าการผลิตเฉลี่ยต่อปีของผลิตผลพืชสวน (ผลไม้และผัก) จะมีจำนวน 22 ล้านตันต่อปี แต่มีเพียงร้อยละ 9 ของผลิตผลรวมเท่านั้นที่มีการแปรรูป ส่วนที่เหลือถูกนำไปบริโภคสดหรือสูญเสีย (มากกว่าร้อยละ 25) เนื่องจากเน่าเสียง่าย

ในบรรดาวิธีการมากมายที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอเพื่อลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวนในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศเวียดนามนั้น วิธีการที่น่าสนใจ คือ การลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่ช่วยยืดอายุผลิตผล ซึ่งอาจจะเป็นการเก็บแบบเย็นหรือการอบแห้งผลิตผลที่เน่าเสียง่ายเมื่อราคาตกต่ำกว่าจุดคุ้มทุน โดยขึ้นอยู่กับโภคภัณฑ์แต่ละชนิด

ดร. Nguyen Van Phong หัวหน้าแผนเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยผลผลไม้ภาคใต้ กล่าวว่า การพัฒนาผลิตผลแปรรูปด้วยการอบแห้งในรูปแบบต่างๆ อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถเก็บรักษาผลิตผลได้เป็นเวลานานขึ้น และทำได้ในหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน

การมีส่วนช่วยของโคเวสโตร

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างความยั่งยืนของบริษัท เมื่อราว 5 ปีที่แล้ว กลุ่มธุรกิจธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียนของโคเวสโตรได้เริ่มสร้างต้นแบบธุรกิจบนพื้นฐานของตลาดผู้มีรายได้น้อยด้วยโซลูชั่นต่างๆ ที่ทำจากวัสดุของโคเวสโตร

หนึ่งในโซลูชั่นที่โคเวสโตรส่งเสริมในอาเซียน คือ เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (SDD) ซึ่งใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ในการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ปิดโดยใช้หลักปรากฏการณ์เรือนกระจก การย้ายกระบวนการอบแห้งเข้าไปในพื้นที่ปิดได้พิสูจน์อย่างเต็มที่แล้วว่าช่วยลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สหกรณ์การเกษตรทาน บินห์ ตั้งอยู่บนเกาะหนึ่งในอำเภอทาน บินห์ จังหวัดดอง ทัป ประเทศเวียดนาม โดยสมาชิกสหกรณ์ผลิตพริกสด (พริกขี้หนู) ได้ราว 2,000 ตันต่อฤดูกาล (6 เดือน) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สมาชิกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศซึ่งทำให้เกิดระดับน้ำท่วมสูงผิดปกติ และฤดูแล้งเป็นเวลานานจนถึงขั้นแล้งอย่างรุนแรง ฝนที่ตกหนักในระหว่างฤดูกาลส่งผลให้สมาชิกสูญเสียพริกแห้งที่ใช้วิธีการปกติ (จากพื้นดินออกสู่กลางแจ้ง) เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนมา สมาชิกก็ต้องรวบรวมพริกและเก็บไว้ในพื้นที่เก็บเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีการนำมาแผ่ ทำให้พริกปนเปื้อนแมลง โรค ปรสิต และรา ผลิตผลสุดท้ายจึงผิดรูปผิดร่าง และสีเดิมก็จางลงมากพร้อมๆ กับวิตามินและแร่ธาตุ นาย Nguyen Van Sonผู้อำนวยการสหกรณ์ ยืนยันว่าในช่วงฤดูฝน จะสูญเสียพริกแห้งร้อยละ 25 ของการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง หรือราว 1 ตัน การสูญเสียลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 หลังจากใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

หลังจากทำการทดสอบและวัดผลกับโภคภัณฑ์หลายชนิดโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี 2017 ดร. Phong มีมุมมองในเชิงบวกต่อการอบแห้งด้วยวิธีนี้สำหรับพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และปรากฏการณ์เรือนกระจกได้พิสูจน์อย่างเป็นที่น่าเชื่อถือแล้วว่ามีข้อดีทั้งในแง่การใช้พลังงานและคุณภาพผลิตผล

ในประเทศเวียดนาม ได้มีการเผยแพร่เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างโคเวสโตรกับศูนย์การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Agitech) นาย อัน เกียง โดยวิศวกรของ Agitech ได้รับการฝึกอบรมอย่างสมบูรณ์จาก ดร.เสริม จันทร์ฉาย ผู้ประดิษฐ์เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่ทฤษฎีและผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ จนถึงการประกอบและติดตั้งเครื่องสาธิต

การนำการผลิตเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาดำเนินการในท้องถิ่นทำให้สามารถลดต้นทุนได้มาก เมื่อเทียบกับการนำเข้าเครื่องอบทั้งชุดจากประเทศไทยอย่างแต่ก่อน โดยที่ยังคงคุณภาพเดียวกันไว้ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ได้ที่นี่.

ถึงเวลาแล้วสำหรับบ้านที่ทั้งสะดวกสบายและประหยัดพลังงานในราคาที่สมเหตุสมผล

เมื่อโลกกำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเข้าสู่ขั้นที่เราคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรม บ้านก็ไม่มีข้อยกเว้น มีแนวคิดใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น เช่น การลดการใช้พลังงานด้วยการออกแบบบ้านที่ประหยัดพลังงาน โดยยังคงราคาไม่ให้สูงเกินไป ซึ่งฟังดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่าการพิจารณาใช้วัสดุแนวนวัตกรรมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


เป็นเรื่องที่น่าใฝ่รู้!

จำได้ว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แนวคิดการสร้าง “บ้านที่ราคาสมเหตุสมผล” เกิดขึ้นในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นในเขตเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจนในเมือง แนวคิดนี้ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่ที่ยากต่อการที่ประชาชนจะเข้าใจ และยังทำให้เกิดความกังวลในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของสิ่งที่เรียกกันว่า “บ้านที่ราคาสมเหตุสมผล” อีกด้วย มีการเปิดตัวหลายโครงการ แต่ประชาชนก็ยังไม่เชื่อมั่น

อย่างไรก็ตาม เรามีชีวิตอยู่ในยุคที่เราเชื่อว่าสามารถเอาชนะความท้าทายได้ตราบใดที่เรามุ่งมั่นและร่วมมือกัน เป็นเวลา 2-3 ปี โดยประมาณ ที่กลุ่มธุรกิจธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียนของโคเวสโตรได้ลงทุนอย่างมากมายเพื่อเสาะหาหุ้นส่วนที่มีความคิดเหมือนกันที่จะพัฒนาบ้านในราคาสมเหตุสมผลจากวัสดุของโคเวสโตร เมื่อเรื่องราวถูกแชร์ออกไปก็เกิดความท้าทายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ซึ่งไม่ใช่ปัญหาทั่วไปที่จะพบเจอได้ในการพัฒนาธุรกิจเนื่องจากกลุ่มธุรกิจธุรกิจเกื้อกูลสังคมไม่ใช่อะไรที่ใกล้เคียงกับคำว่า “เป็นเรื่องทั่วไป” เลย แต่ท้ายที่สุด ข้อสรุปของคุณ ซู เม่ย ผู้จัดการประจำประเทศมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ก็คือ “เรายังต้องเดินหน้าต่อไป”

จิตวิญญาณที่มุ่งมั่นนำคุณ ซู เม่ย ไปสู่โอกาสอันมีค่าที่ได้ร่วมมือกับบริษัท United Panel System (UPS) ในการริเริ่มสร้างบ้านที่ราคาที่สมเหตุสมผล

UPS ก่อตั้งในปี 1978 เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตแผ่นฉนวนทำจากโพลียูรีเทน (PU) พอลิไอโซไซยานูเรต (PIR) และ พอลิสไตรีน (PS) สำหรับห้องเย็น โดยเริ่มวางแผนเจาะตลาดภาคการก่อสร้างด้วยแผ่นฉนวน PIR ดูว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง โคเวสโตรเข้ามาได้ถูกจังหวะเพื่อแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างโรงเรียนอนุบาลกับ UPS โดยได้ทำบันทึกความเข้าใจเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง UPS กับโคเวสโตรในเดือนตุลาคม 2017

ทำตามความเชื่อ!

โคเวสโตรได้รับการติดต่อและสอบถามจากรัฐบาลท้องถิ่นว่า จะนำเทคโนโลยีของโคเวสโตรไปบูรณะโรงเรียนอนุบาล KG Kudei ในเมืองกูชิงบนเกาะบอร์เนียวอย่างไรได้บ้าง ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา โดยรัฐบาลพยายามทำให้แน่ใจว่าไม่มีเด็กถูกทอดทิ้ง


โรงเรียนเปิดทำการ 2 ช่วงเวลาทุกวัน คือ 7.30 – 11.30 น. และ 12.00 – 16.00 น. ด้วยสภาพอากาศในส่วนนี้ของประเทศ ในระหว่างวันเมื่ออุณหภูมิขึ้นสูง ห้องเรียนจะรู้สึกเหมือนอยู่ในเตาอบ ทำให้ทั้งครูและเด็กนักเรียนไม่สามารถทนสอนและทนเรียนได้ ช่างเป็นภาพที่น่าหดหู่และน่าคิดอย่างมาก โคเวสโตรจึงร่วมมือกับกระทรวงโยธาธิการของรัฐซาราวักและ UPS เพื่อที่จะมอบโรงเรียนที่ดีขึ้นด้วยการสร้างบ้านแบบนวัตกรรมแก่ครูและนักเรียน

ต้นแบบบ้านราคาสมเหตุสมผลที่โคเวสโตร อาเซียน ส่งเสริมในประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซียใช้วัสดุแนวนวัตกรรมอย่าง PIR (พอลิไอโซไซยานูเรต) ซึ่งอยู่ในกลุ่มวัสดุที่โคเวสโตรภูมิใจใช้แผ่นผนัง PIR ที่ใช้กันทั่วไปในห้องเย็นหรือการทำความเย็นในอุตสาหกรรม เพราะมีคุณสมบัติกันความร้อนดีเลิศและกันความชื้นได้ บ้านที่สร้างโดยใช้แผ่นฉนวน PIR จึงกันความร้อนและลดการใช้เครื่องปรับอากาศและไม่ขึ้นรา แผ่นฉนวน PIR สำเร็จรูปมีน้ำหนักเบาจึงลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และใช้แรงงานน้อย ส่งผลให้ราคาบ้านถูกกว่าบ้านทั่วไปราว 35-40% ข้อดีของแผ่นฉนวน PIR คือ

  • กระบวนการก่อสร้างง่ายและรวดเร็ว
  • ประหยัดพลังงาน (กันความร้อน)
  • ประกอบสำเร็จรูปตามขนาด
  • มีความยืดหยุ่นในการออกแบบสูง
  • ผิวเรียบ
  • ลดการสูญเสียในการก่อสร้าง
  • ลดการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในสถานที่ก่อสร้าง
  • คุณภาพสูง

ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2018 หลังจากการก่อสร้างราว 3 เดือนผ่านไป ก็มีพิธีเปิดใช้โรงเรียนอนุบาลโดยมีครูและนักเรียนที่มีความปิติยินดีมาร่วมงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานท้องถิ่น

ทุกวันนี้ โรงเรียนซึ่งสร้างด้วยแผ่นฉนวน PIR มีพื้นที่ สดใส และเย็นขึ้นมาก ครูยังแสดงความคิดเห็นอีกด้วยว่า รู้สึกได้ถึงความแตกต่างของอุณหภูมิเมื่อก้าวเข้าไปในโรงเรียนอนุบาลที่สร้างด้วยแผ่นฉนวน PIR ทำให้โรงเรียนง่ายต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษาในปัจจุบัน และยังมีกำแพงแข็งแรงไว้ติดภาพถ่ายและภาพต่างๆ ที่เป็นสื่อการเรียนการสอนอีกด้วย

อนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป

เทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอันดับแรกอย่างไม่ต้องสงสัย และแน่นอนชุมชนเองยังสามารถเพลิดเพลินกับสภาพความเป็นอยู่ที่อบอุ่น สภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายและปลอดภัย อีกทั้งรัฐบาลยังสามารถส่งมอบโครงการที่อยู่อาศัยได้ในเวลาอันสั้นลง ด้วยวัสดุที่คงทนและยืดหยุ่นกว่ามาก รวมถึงระยะเวลาในการก่อสร้างและของเสียยังลดลง สามารถช่วยประหยัดค่าแรงและต้นทุนทางวัสดุ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ทำให้การออกแบบมีความยืดหยุ่นสูงและการตกแต่งมีคุณภาพที่ดี

อาคารที่สร้างด้วยแผ่นฉนวน PIR ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประหยัดพลังงาน ลดการพึ่งพาพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศสำหรับคนที่อยู่ในสภาพอากาศเขตร้อน ทำให้ประหยัดการใช้พลังงาน การสร้างบ้านแบบนี้ช่วยให้การใช้ชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การใช้แผ่นฉนวน PIR ในการก่อสร้างเป็นระบบการก่อสร้างเชิงอุตสาหกรรม (IBS) ซึ่งเป็นวิธีการก่อสร้างที่รวดเร็วกว่าที่รัฐบาลประเทศมาเลเซียนำมาใช้ IBS ช่วยลดแรงงานคนและการสูญเสียลง ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานสะอาดและปลอดภัยขึ้น การสร้างโรงเรียนอนุบาลขึ้นมาใหม่ด้วยความรวดเร็วหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมลดระยะเวลาที่เด็กจะไม่มีโรงเรียนให้ไปลงอย่างเห็นได้ชัด

“IBS เป็นส่วนประกอบสำคัญภายใต้โครงการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการก่อสร้าง (CITP) ปี 2016-2020 ที่พยายามจะเพิ่มระดับผลิตผลจากอุตสาหกรรมการก่อสร้าง” นายฟาดิลา ยูซอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการ กล่าวถึงข้อดีของ IBS แสดงให้เห็นถึงความตระหนักของรัฐบาลมาเลเซียต่อความสำคัญของวิธีการเชิงนวัติกรรมที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

“บ้านในราคาสมเหตุสมผลนี้ควรเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคน เพราะไม่ได้เป็นแค่เพียงบ้านที่ใช้อยู่อาศัย แต่ยังเป็นที่อยู่ถาวรที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนเป็นเจ้าของและมีความภูมิใจ ซึ่งในระยะยาว เทคโนโลยีดังกล่าวจะยิ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้แรงงานน้อยลงอีก” นาย สเตฟาน คอช หัวหน้ากลุ่มธุรกิจธุรกิจเกื้อกูลสังคมในภูมิภาคอาเซียน กล่าว

เส้นทางใหม่สู่ตลาดในส่วนที่ประชาชนมีรายได้น้อยได้เปิดขึ้นแล้วด้วยบ้านที่ราคาไม่แพง ซึ่งมีส่วนช่วยให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกทอดทิ้งบนเส้นทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาแบบยั่งยืน และนอกจากจะเป็นคำมั่นสัญญาต่อประชาสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติแล้ว ยังเป็นพันธะสัญญาของโคเวสโตรในฐานะสมาชิกของ UN Global Compact ซึ่งเป็นชุมชนผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นแนวคิดเพื่อความยั่งยืนของบริษัทอีกด้วย

ทำตามความเชื่อ!

ติดต่อเรา

Contact form image Zoe

โปรดอธิบายเกี่ยวกับตัวคุณ?

คุณมีความสนใจในวัสดุประเภทใด?

ข้อมูลที่ต้องการสอบถามอยู่ในประเภทใด?

เราจะติดต่อคุณได้อย่างไร?

* จำเป็นต้องกรอกข้อมูล

Compare